ประวัติโรงพยาบาลตากฟ้า

ประวัติโรงพยาบาลตากฟ้า

อดีตสู่ปัจจุบัน โรงพยาบาลตากฟ้า

โรงพยาบาลตากฟ้า เดิมชื่อ สถานีอนามัยชั้น 1 นิคมสร้างตนเองตาคลี  ขึ้นกับ อำเภอตาคลี สร้างขึ้นเมื่อปี 2507 ด้วยเงินบริจากของคหบดี  ชาวสิงห์บุรีชื่อ คุณถุงเงิน ปิยะชน เป็นอาคารไม้ในที่ดินนิคมสร้างตนเอง  ในจำนวนเนื้อที่ 29 ไร่ เจ้าหน้าที่ ที่ประจำชุดแรก คือ

  1. นายแพทย์อุดม  ไชยอนันต์ แพทย์ปัจจุบันเป็นแพทย์ พอสว.
  2. นายเสว  ภู่แส พนักงานอนามัย ปัจจุบันเป็นสาธารณสุขอำเภอลาดยาว
  3. นางสาว  ทัศนีย์ ประยูรวงศ์ พยาบาล ปัจจุบันลาออกจาก ราชการไปประกอบอาชีพที่สหรัฐอเมริกา
  4. นาวสาวพิไล  ผดุงครรภ์ ถึงแก่กรรม (ขณะนั่งรถยนต์โดยสารไปประชุมที่  อ.ตาคลี พ.ศ.)

ตากฟ้า ปี

2507-2521 เป็นยุคที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ตลอด  24 ชม. กระแสไฟฟ้าจะเป็นไฟฟ้าปั่น  จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพลเช่นทุกวัน เวลาที่จะได้ใช้กระแสไฟฟ้าคือเวลา 19.00-22.00 น.  นอกนั้นจะต้องใช้เทียนไข  หรือตะเกียงแล้วแต่ถนัดลองหลับตาคิดถึงสภาพการทำงานตอนนั้นต่างกับตอนนี้ลิบลับเลย  น้ำที่ใช้ เราได้รับน้ำ จากนิคมสร้างตนเอง ปล่อยกระแสน้ำให้เราวันละ 1  ครั้ง ตอน 9.00 น.  ต้องรีบรองน้ำใส่โอ่งไว้ใช้ในห้องน้ำ ห้องส้วมคนไข้  เจ้าหน้าที่ต้องรีบรองน้ำเดี๋ยวจะไม่มีน้ำใช้ ถ้าช้าเราจะต้องซื้อน้ำ รถเข็นคันละ 5  บาท มีน้ำอยู่ 10 ปี๊บ  เพราะฉนั้นจะรอช้าไม่ได้ส่วนน้ำรับประทานเราอาศัน  จากน้ำฝนรองใส่แท้งค์น้ำไว้รับประทาน

ปี 2510-2517 เราไม่มีแพทย์ปฎิบัติงานประจำ  เจ้าหน้าที่ ที่ประจำอยู่ตอนนั้นมี คุณปาน อำรอด สาธารณสุขอำเภอเป็นคนแรก มีพยาบาล  1 คน คือผู้เขียนผดุงครรภ์ 3 คน  นานๆจะมีแพทย์จากตาหลีมาช่วยตรวจ-รักษาเป็นครั้งคราว  แต่สายงานการบังคับบัญชาเราแยกจากอำเภอตาคลี เมื่อยกระดับฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ  พ.ศ.2513 เวลาออกหน่วยเคลื่อนที่สมัยก่อนๆ เราไม่มียาแจกเหมือนตั้งแต่  มีแพทย์ประจำส่วนมากจะเป็นไปในรูปฉีกวัคซีนป้องกันเสียส่วนใหญ่  ถนนดินลำบากมากหน้าฝนเราจะนั่งรถแรกเตอร์ติดแทรเล่อร์ (ชาวบ้านเรียกว่า  สาลี่) ตำบลที่ไกลที่สุดคือ ตำบลอุดมธัญญาสมัยนั้นมีอุบัติเหตจากรถไถที่ติดสาลี่มาก  มาทีก็เสียชีวิตอย่างน้อย 2-3 วัน ศพเวลาผู้เขียนออกทีหนึ่ง  ก็อาราธนาพระช่วยคุ้มเครองเกือบทุกครั้ง ตำบลอุดมธัญญา เวลาไปกับรถติดสาลี่ขากลับผู้เขียน  จะขอกลับทางหมู่บ้านปลายราง นั่งรถถ่อติดเครื่องเรือหางยาวไปตามรางเหมือนรถไฟ  ไปขึ้นรถที่สถานีรถไฟหัวหวาย รถใช้ไม้ประกอบเป็นรถเป็นชิ้นๆ เวลาสวนทางกันสามารถ  ยกหนีหลีกทางกันได้ เวลาวิ่งๆ  แรงสั่นสะเทือนของเครื่องที่เจ้าไม้ที่ประกอบบางทีก็ยืดออก บางทีก็หดเข้าหนีบกันเราสดุ้งสุดตัวก็มี  เราต่อรถไฟจากหัวหวาย ถึง อ.ตาคลี แล้วต่อรถเมย์โดยสารประจำทางกลับตากฟ้า  เป็นการออกหน่วยที่ประทับใจมาก เพราะหาไม่ได้อีกแล้วในชั่วชีวิตนี้

ปี 2518 ได้ยกฐานะ เป็นศูนย์การแพทย์อนามัย  มีแพทย์มาประจำคือ นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ และภรรยา ของท่านเป็นหมอฟันคือ  ท.พ.หญิง ดวงพร

ปี 2519 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลอำภเภอขนาด 10  เตียง ได้ก่อสร้าง โอพีดี ใหม่ (ปัจจุบันเป็นหอพักนักศึกษาหญิง)  ตัวอาคารไม้ทำเป็นตึกผู้ป่วยใน มีสะพานไม้เดินติดต่อระหว่าง โอพีดี  ใหม่กับอาคารไม้ เมื่อนานปีเข้าสะพานก็เก่า บางแห่งก็พัง หลังคาทางเดินก็ไม่มี  เวลาฝนตกต้องใช้ร่มกางให้คนไข้และเจ้าหน้าที่ ของเราต้องเดินด้วยคยวามระมัดระวัง  เดี๋ยวจะพลัดตกลงไป บางครั้งผู้เขียนจะชอบเรียกประชดว่า GOLDEN GATE เราเริ่มเปิด WARD ผู้ป่วยในมี CHART ผู้ป่วยมี KARDEX แต่ยังไมสมบูรณ์ดีนัก  เพราะตัวผู้เขียนเองเป็นผู้บุกเบิกงาน  ไม่เคยได้อยุ่ในโรงพยาบาลจังหวัดมาก่อนเลยต้องขอร้องรุ่นน้องจากโรงพยาบาลบ้านหมี่มาช่วยให้คำแนะนำ  แต่ก็ไม่ทันสมัยอย่างปัจจุบันนี้เพราะเจ้าหน้าที่ของเราน้อยมาก (เจ้าหน้าที่ทุกคน การเงิน ธุรการ พนักงานวางแผนครอบครัวปี 2518-2523  จะต้องอยู่เวชหมดมีความสามารถฉีดยา จ่ายยา เย็บแผล  อาบน้ำเด็กแรกคลอดได้ นอกจากงานที่ปฎิบัติประจำ  นับเป็นความรู้พิเศษนอกเหนือหน้าที่

ปี 2521-2522 นายแพทย์ธนวัช สุนทราจารย์  และภรรยาได้ย้ายไปอยู่โรงพยาบาลตาคลี และทางโรงพยาบาลตากฟ้า ได้ผู้อำนวยการคนใหม่คือนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์  อังคสุวพลา และภรรยาของท่านเป็นพยาบาล ชื่อ “คุณพวงทอง  ในปีนี้เองได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง  มีการก่อสร้างตึกผุ้ป่วยใน ห้องพิเศษ ประปา โรงครัว โรงเก็บพัสดุ โรงไฟฟ้า  บ้านพักต่างๆ ตลอดการเดินกระแสไฟรอบๆ โรงพยาบาล ติดไฟทางให้สว่างไสวการบริการของเราไม่เฉพาะในอำเภอตากฟ้าเท่านั้นอำเภอใกล้เคียงก็ได้มาอาศัยบริการ  ได้ก่อตั้งชมรมร่วมใจตากฟ้าขึ้นมีการบริจากเงิน และสิ่งของให้โรงพยาบาล เช่น  รถยนต์โตโยต้า สีเหลือง,รถตู้,เครื่อง EKG  ได้จากญาติ ของผู้อำนวยการเอง ความเจริญและพัฒนา ก็ได้เริ่มต้นอย่างมาก  ในสมัยผู้อำนวยการนายแพทย์ณรงศักดิ์ นี้เองสะพานไม้ที่เชื่อมอาคารต่าง ๆ  ได้หมดไปเป็น COVER WAY คอนกรีตเสริมเหล็กอย่างมั่นคงแข็งแรง  ชมรมรวมใจตากฟ้าก็ได้เป็น ผู้อุปการะโรงพยาบาลตราบเท่าทุกวันนี

ปลายปี 2523 นายแพทย์ ณรงค์ศักดิ์ และภรรยาได้ย้าย  ไป อยู่โรงพยาบาลพนัสนิคม ชลบุรี ก่อนจะย้ายท่านได้ขอ งบประมาณสร้าง OPD.30  เตียงไว้คือ OPD. ที่อยู่ปัจจุบันนี้  นายแพทย์ธรรมนูญ กมลมาตยกุลและภรรยาของท่านชื่อคุณกอบกาญน์  ได้ย้ายมาแทน เราได้นายแพทย์บัวเรศ ศรีประทักษ์, แพทย์หญิงนิลุบล แก้วกอและเภสัชกรอีกคนหนึ่งคือ คุณมานิต  เราได้ย้ายจาก OPD.10 เตียง  มาอยู่ OPD ปัจจุบันนี้เมื่อปลายปี พ.ศ.2525

เดือนเมษายน 2526 น.พ.ธรรมนูญ  และภรรยาได้ย้ายไปอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด  นายแพทย์บัวเรศได้รักษาการแทนจนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2526 เราได้  นายแพทย์ทรงยศ ชัยชนะ มาเป็นผู้อำนวยการของเรา  และแถมภรรยาของท่านอีกคนหนึ่งซื่งเป็นพยาบาล คือ คุณสายสุนีย์

ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พัฒนาโรงพยาบาลตากฟ้าในหลายด้าน เริ่มตั้งแต่การปรับปรุงระบบเวร ๒๔ ชั่วโมง ที่แสนจะล้าสมัยมาเป็นระบบเวร ๘ ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีงานด้านอื่นๆ อีก เช่น งานด้านวิชาการได้แก่ การสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ให้รับการศึกษาต่อและทำงานวิจัยต่าง ๆ งานด้านฝ่ายส่งเสริม สุขภาพได้แก่ การรณรงค์ทุกอย่าง เช่น ทำหมันชาย ใส่ห่วง และงานด้านสมุนไพร มีการทำสวนสมุนไพร และใช้ประโยชน์จากสมันไพรเหล่านี้

ในสมัยนายแพทย์ทรงยศ มีการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนามีการขอรับบริจาคอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ขาดแคลน ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเป็นอย่างดีโดยเฉพาะชมรมรวมใจตากฟ้าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญ

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ นายแพทย์ราเมศ สุขุมาลไพบูลย์ ซึ่งเป็นทีมแพทย์ ที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลอยู่เดิม ได้ปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นยุคที่เจ้าหน้าที่มีความสุขอีกยุคหนึ่งหมอใจดี คนไข้รักท่านมาก ๆ ติดกันงอมแงม ในด้านการบริหารหมอจะใช้หลักการบริหารโดยให้ทุกคนมีโอกาศได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านก็ได้ย้ายและไปศึกษาต่อด้านจักษุ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ นายแพทย์ณัฐพร  วงศ์สุทธิภากรณ์ ย้ายมาจากโรงพยาบาลโกรกพระ เป็นผู้อำนวยการอีกคนที่ใจดีมาก และท่านเป็นผู้บริหารที่ต้องพบเจอกับปัญหาเรื่องการขาดสภาพคล่องทางการเงินของโรงพยาบาลเจ้าหน้าที่ ต้องรัดเข็มขัดกันอย่างแรง เงินค่าล่วงเวลามีไม่พอจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ต้องใช้วันหยุดชดเชยแทนและด้วยความใจดีของท่าน ทำให้เจ้าหน้าที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจนฝ่าฟันอุปสรรคด้านการเงินไปได้ ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ท่านได้ลาศึกษาต่อเป็นเวลา ๑ ปี

ในปี พ.ศ.๒๕๓๗ นายแพทย์พรชัย ชอบทางศิลป์ เป็นรักษาการผู้อำนวยการแทน นายแพทย์ณัฐพร ในสมัยนี้เนื่องจากการบริหารที่ระมัดระวังเรื่องการเงินในสมัยนายแพทย์ณัฐพร ทำให้โรงพยาบาลมีเงินมากพอที่จะพัฒนาด้านสิ่งก่อสร้าง ระยะเวลา ๑ ปี โรงพยาบาลมีการพัฒนาหลายเรื่องดังนี้

  • ปรับปรุงภูมิทัศน์โรงพยาบาล
  • ปลูกต้นไม้ทำสนามมองดูแล้วสวยงาม
  • ทำเวทีการแสดงแบบถาวร
  • เทปูนทำสนามกีฬาไว้ให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ไว้ออกกำลังกาย
  • ปรับปรุงโรงครัวและทำโรงจอดรถ

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เราได้รับย้ายผู้อำนวยการจากโรงพยาบาลเก้าเลี้ยวคือ นายแพทย์คำนึง สีแก่น โดยมีภรรยาที่เป็นพยาบาลสาวสวยย้ายตามมาด้วยถือว่าโรงพยาบาลได้กำไร นายแพทย์คำนึงเป็นคนรูปงามพูดจาไพเราะ เป็นที่ชื่นชอบของคนไข้และด้วยความเป็นนักบริหาร  ทำให้โรงพยาบาลตากฟ้าถูกปรับโฉมใหญ่เปลี่ยนจากเดิมไปมาก ไม่ว่าจะเป็นอาคารสิ่งก่อสร้าง เรามีห้องประชุมใหม่ที่ทันสมัย มีบ้านพักเจ้าหน้าที่เกิดใหม่ถึง ๔ หลัง มีแฟลต สองชั้นจำนวน ๑๒ ห้อง มีห้องเก็บศพที่มิดชิด มีห้องน้ำที่สวยงาม มีการขยายอาคารผู้ป่วยในเนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น มียานพาหนะที่ทันสมัยหลายคัน ทำให้เกิดการทำงานที่คล่องตัว และในปี พ.ศ.๒๕๕๑ ท่านได้ย้ายไปปฎิบัติหน้าที่ ณ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โรงพยาบาลตากฟ้าได้นายแพทย์อำนาจ น้อยขำ ซึ่งเป็นทีมแพทย์เดิมในโรงพยาบาล มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยบาล และตั้งแต่ปี พศ. ๒๕๕๑ เป็นต้นมา รูปแบบการบริหารจัดการของโรงพยาบาลตากฟ้าก็ถูกปรับโฉมครั้งใหญ่อีกครั้ง เจ้าหน้าที่ได้รับการกระตุ้นให้เกิดพลังโดยเฉพาะทางความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน  มีการทำงานร่วมกันกับท่านสาธารณสุขอำเภอ ท่านสกล คลังพลอย อย่างราบรื่นและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ในปี พ.ศ.๒๕๕๖ โรงพยาบาลตากฟ้าได้รับการรับรองจาก สรพ. ให้ผ่านการประเมินมาตรฐาน HA เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ ๒ ของจังหวัดนครสวรรค์ ต่อจากโรงพยาบาลตาคลี นอกจากจะได้รับรองการยอมรับในแวดวงของสาธารณสุขแล้วภายใต้การนำของ นายแพทย์อำนาจ น้อยขำ โรงพยาบาลจากฟ้ายังได้การยอมรับจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนให้การสนับสนุนทุกเรื่อง จนปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ภายใต้การนำและการสนับสนุนของ พระราชปัญญาเวที เจ้าออาวาสวัดจากฟ้า และประชาชนในอำเภอตากฟ้าได้จัดหาทุนในการจัดสร้างอาคารผู้ป่วยในและตึกฆงค์เฉลิมพระเกียรติ ๘๗ พรรษา รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์คิดเป็นมูลค่ากว่า ๙ ล้านบาท ยังความปลาบปลื้มให้กับเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการทุกคนที่จะได้อาคารหลังใหม่ที่ไม่ต้องหาที่รองน้ำรั่วยามฝนตก ไม่ต้องย้ายเตียงผู้ป่วยหนียามฝนรั่ว

ขณะนี้  โรงพยาบาลตากฟ้าอยู่ในช่วงของการพัฒนา หลาย ๆ อย่าง  และรุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อประชาชนชาวตากฟ้า